วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2561

จุดชมวิวผาแดงอุทยานแห่งชาติตาพระยา



จุดชมวิวผาแดงอุทยานแห่งชาติตาพระยา
ช่วงนี้ใกล้ฤดูหนาวกันแล้ว  ท่านที่ยังไม่มีโปรแกรมทัวร์ รับลมหนาวที่ไหน ขอแนะนำจุดชมวิวผาแดงอุทยานแห่งชาติตาพระยา ผาแดงเป็นจุดชมทิวทัศน์ผาแดงชมทะเลหมอก สัมผัสอากาศหนาวบนหน้าผาสูงสูดกลิ่นอายธรรมชาติ ชมดวงอาทิตย์ตก และชมทะเลหมอกปกคลุมผืนป่าธรรมชาติอันกว้างใหญ่สวยงามของเทือกเขาบรรทัด และป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ บนลานหินหน้าผาสูงจุดชมวิว ผาแดง และยังมีถ้ำค้างคาวและน้ำตก 3 ชั้นให้เที่ยวชมเมื่อมองลงมาจะเห็นตัวหมู่บ้านใหม่ไทยถาวร บริเวณเขตติดต่อระหว่าง ต.ทับลาด อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว กับบ้านหนองเสม็ด ต.ลำนางรอง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์

จุดชมทิวทัศน์ผาแดงการเดินทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติตาพระยา ทางขึ้นเขาไปทางอำเภอโนนดินแดง ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ถึงจุดตรวจตำรวจชายแดนแล้วเลี้ยวขวา มีป้านบอกทางเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร
ประวัติ
อุทยานแห่งชาติตาพระยา เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 82 ของประเทศไทย เป็นเทือกเขาสูงไปตามแนวเทือกเขาบรรทัด ไปจนถึงเทือกเขาพนมดงรัก อุทยานแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 371,250 ไร่ หรือ 594 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ถึง 2 จังหวัด คือ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานฯ และจังหวัดบุรีรัมย์ นอกจากนี้อุทยานแห่งชาติตาพระยายังได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ รวมถึง
อุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่ติดกันด้วย โดยใช้ชื่อว่า ผืนป่าดงพญาเย็น เขาใหญ่ จากองค์ศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมจากสหประชาชาติ ( UNESCO ) จุดชมวิวเทือกเขาบรรทัด อยู่ภายใต้การดูแลและรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติตาพระยา อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นจุดชมวิวที่อยู่ไม่ไกลจากที่ทำการห ทิวทัศน์จากจุดชมวิว สามารถมองเห็นเทือกเขาพรานนุช เทือกเขาสะแกกรอง และหน่วยพิทักษ์ฯ ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่เห็นหมอกยามเช้า และพระอาทิตย์ขึ้น-พระอาทิตย์ตกที่สวยแห่งหนึ่งของประเทศไทย
ข้อมูลเพิ่มเติม
ค่าธรรมเนียมในการเข้าอุทยานฯ จักรยาน 10 บาท จักรยานยนต์ 20 บาท รถสี่ล้อ 30 บาท และรถหกล้อ 100 บาท ผู้ที่ต้องการพักค้างคืน ทางอุทยานฯ มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ ผู้มาพักต้องนำเครื่องนอนและอาหารมาเอง ทางอุทยานฯ มีที่ประกอบอาหารและโรงอาหารขนาดเล็กไว้บริการ

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน


วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน
จากการที่ทีมนักฟุตบอลเยาชน 13 คน และโค๊ช 1 คนติดในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2561 จนเป็นข่าวที่โด่งดังไปทั่วโลก ทำให้ทุกคนได้รู้จักชื่อถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนแห่งนี้มากขึ้น ซึ่งจริงๆแล้วถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม  ซึ่งเมื่อมีเหตุการณเช่นนี้เกิดขึ้น  ทางกรมอุทยานฯ  คงมีแนวทางป้องกันต่อไปเพื่อไม่ให้เหตุเกิดซ้ำสอง
วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยนางนอน ท้องที่ ต.โป่งผา เนื้อที่ประมาณ 5,000 ไร่ มีจุดบริการท่องเที่ยว 2 แห่ง คือ บริเวณถ้ำหลวง บ้านน้ำจำ และบริเวณขุนน้ำนางนอน บ้านจ้อง มีสภาพเป็นพื้นที่ราบระหว่างหุบเขาหินปูนสูงชันเงียบสงบ
ถ้ำหลวง เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ เชื่อกันว่ามีความยาวมากที่สุดในประเทศไทยเนื่องจาก มีความยาวกว่า 7 กิโลเมตร ปากถ้ำเป็นห้องโถงกว้างมากภายในถ้ำจะพบกับความงามของ เกล็ดหินสะท้อนแสง หินงอก หินย้อย ธารน้ำและถ้ำลอด ถ้ำหลวงยังรอคอยความท้าทายการสำรวจจากนักท่องเที่ยวอยู่ตลอดเวลา เพราะสำรวจไปได้ไม่ถึงที่หมายก็ต้องล่าถอยออกมาด้วยพบกับอุปสรรคความยากลำบาก ภายในถ้ำและยังมีถ้ำเล็กๆ อีก 3 แห่งในบริเวณเดียวกัน สามารถเดินเข้าไปชมความงามได้ และควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย โดยที่ในช่วงฤดูฝนน้ำจะท่วมภายในถ้ำ ไม่พบหลักฐานทางโบราณคดี
       ตำนานดอยนางนอน เรื่องแรกเล่าขานว่า ณ เมืองเชียงรุ้ง สิบสองปันนา มีเจ้าหญิงองค์หนึ่งมีพระรูปงดงามเป็นที่ยิ่ง ได้แอบรักกับชายเลี้ยงม้าในวัง จึงหนีตามกันมาถึงที่ราบใกล้แม่น้ำโขง เมื่อเดินทางไปถึงที่นั่น เจ้าหญิงก็ทรงครรภ์ได้หลายเดือนแล้ว จึงเสด็จต่อไปไม่ไหว บอกพระสวามีว่าจะประทับรออยู่ที่นั่น สวามีก็บอกว่าจะไปหาอาหารมาให้ อย่าไปไหน ชายหนุ่มก็ไปแล้วไปลับไม่กลับมาเสียที ปรากฏว่าถูกฆ่าโดยทหารของพระราชบิดาเจ้าหญิงที่สะกดรอยตามมา
ด้วยความเสียใจ นางจึงใช้ปิ่นปักผม แทงพระเศียรของพระองค์จนเลือดไหลออกมาเป็นสาย กลายเป็นแม่น้ำแม่สายในทุกวันนี้ และพระวรกายของพระองค์ที่นอนเหยียดยาวจากทิศใต้จรดทิศเหนือ ก็กลายเป็นดอยนางนอนจนทุกวันนี้
ทางไปอำเภอแม่จัน มีขุนเขาทอดตัวคล้ายผู้หญิงนอนเหยียดยาว เรียกว่า ดอยนางนอน ดอยส่วนที่ศีรษะเรียกว่า ดอยจ้อง หรือ ดอยจิกจ้อง (เดิมเรียกดอยนี้ว่า ดอยท่าหรือดอยต้า) เป็นดอยของลูกชายปู่เจ้าลาวจกที่รอคอยพ่อ ดอยลูกถัดมาเรียกว่า ดอยย่าเฒ่า ซึ่งเป็นภรรยาของปู่เจ้าลาวจก ส่วนดอยอีกลูกหนึ่งคือ ดอยดินแดง หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ ดอยตุง
เชื่อกันว่า ดอยทั้ง 3 นี้เป็นที่อยู่อาศัยเดิมของลาวจักราช ผู้เป็นต้นวงศ์ของพญามังราย ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายมาสร้างเมืองหิรัญนครเงินยาง เหนือดอยดินแดงเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุดอยตุง อันถือเป็นปฐมธาตุแห่งแรกของภาคเหนือ
ตำนานเรื่องที่ 2 เล่าว่า เจ้าหญิงเมืองพุกามกรีธาทัพออกตามหาเจ้าชายที่นางรัก นางออกรบ มีผู้คนล้มตายมากมาย และขยายอาณาเขตมาเรื่อยๆ จนมาถึง เวียงสี่ทวงจึงพบกับเจ้าชาย แต่ปรากฏว่าเจ้าชายหนีหายไปกับสาวสวยชาวเวียงนี้อีกครั้ง นางรู้สึกเศร้าสลดจนตรอมใจตาย
ก่อนตายได้ตั้งจิตอธิษฐานให้ร่างของนางกลายเป็นเทือกเขา ที่ชาวบ้านพากันเรียกว่า ดอยนางนอนน้ำตาที่ไหลรินกลายเป็น ขุนน้ำนางนอนส่วนไพร่พลของนางก็กลายมาเป็นชนเผ่าหลากชาติพันธุ์บนภูเขาแห่งนี้
ตำนานเรื่องที่ 3  เกี่ยวกับ พระธาตุจอมนาคอีกเรื่องว่า พญาครุฑลักพาลูกสาวพญานาค มาแอบซุกซ่อนอยู่ในเทือกเขาแห่งนี้ พญานาคผู้พ่อออกตามหาก็มาพบลูกสาวนอนอยู่กับพญาครุฑในบริเวณที่เป็นต้นน้ำ ปัจจุบันเรียกว่า ขุนน้ำนางนอนซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระธาตุดอยตุง
พญานาคขอลูกสาวคืน แต่พญาครุฑขอแลกกับทองคำ ทุกวันนี้แหล่งน้ำที่พญานาคนำทองคำขึ้นจากบาดาล มาแลกลูกสาวนั้นเรียกว่า หนองตานาคบริเวณที่พญานาคส่งทองคำให้พญาครุฑนั้นเรียกว่า หนองละกาแปลว่าพญานาคลาจากสัตว์พวกนกกากลับบาดาล ทองคำถูกนำไปเก็บไว้ที่ ถ้ำทรายคำหรือถ้ำทรายทอง ก่อนกลับไปพญานาคสร้าง พระธาตุจอมนาค
ขอบคุณแหล่งที่มา 

ถ้ำเขาตาง็อก ต.คลองไก่เถื่อน อ.คลองหาด จ.สระแก้ว



ถ้ำเขาตาง็อก ต.คลองไก่เถื่อน อ.คลองหาด จ.สระแก้ว
ถ้ำเขาตาง็อก หรือถ้ำน้ำเขาศิวะ(คงไม่อันตรายเช่นถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ที่เชียงรายตามข่าวที่โด่งดัง 13 ชีวิตติดถ้ำ) เป็นเขาหินปูนที่ตั้งสูงตระหง่านกั้นขวางแบ่งแยกดินแดนระหว่างประเทศไทย และประเทศกัมพูชา ถ้ำแห่งนี้ถูกค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2519 โดยชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกนี้ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2527 ได้มีชาวบ้านเข้าไปหาปลาลึกเข้าไปในถ้ำและได้ไปพบเห็นสิ่งประหลาดเข้า โดยเป็นสิ่งมีชีวิตมีลำตัวสีแดงแหวกว่ายอยู่ภายในถ้ำ ในบริเวณจุดที่เรียกว่า หยดน้ำทิพย์ซึ่งเป็นจุดที่มีน้ำหยดลงมา จึงเชื่อว่าถ้ำนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และมีพญานาคอาศัยอยู่ ชาวบ้านจึงได้ร่วมกันตั้งศาลขึ้นและให้ชื่อว่า ศาลปู่นาคาและด้วยความงดงามภายในถ้ำ ต่อมาที่นี่จึงได้รับความสนใจจากผู้ที่รักในการผจญภัย และได้พัฒนาให้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยว
ภายในถ้ำน้ำเขาศิวะนั้น ทัศนียภาพด้านในจะเป็นลำธารที่ไหลอยู่ภายในถ้ำ ซึ่งระดับน้ำนั้นจะขึ้นอยู่กับฤดูกาลแต่จะมีน้ำตลอดทั้งปี ในช่วงแรกในการเข้าไปชมนั้นระดับน้ำยังไม่ลึกมาก ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวที่บินโฉบไปมาให้ได้ตื่นเต้น และในช่วงนี้นักท่องเที่ยวก็ไม่ควรเข้าใกล้ผนังถ้ำเพราะเป็นที่อยู่อาศัยของแมงมุมหิน อาจจะได้รับอันตรายจากการถูกกัดได้
ลึกเข้ามาก็จะเจอกับช่วงน้ำตื้นน้ำลึกเป็นระยะๆ แต่ทัศนียภาพภายในนั้นก็จะเริ่มสวยงามขึ้นเรื่อยๆ เพราะรอบกายของเราจะถูกรายล้อมไปด้วยหินงอกหินย้อยที่สวยงามแปลกตาชวนหลงใหล และน้ำตลอดเส้นทางนั้นยังใสจนสามารถเห็นพื้นได้อีกด้วย ทำให้ผู้ที่มาเยือนได้ทึ่งกับความงามที่ได้ถูกธรรมชาติสร้างสรรค์ผลงานออกมา เป็นประติมากรรมอลังการอยู่ภายใต้เทือกเขาแห่งนี้
ถ้ำเขาศิวะ หรือ ถ้ำน้ำ ตั้งอยู่ที่ บริเวณบ้านเขาจันทร์แดง ระหว่างเทือกเขาตาง๊อก และเทือกเขากกมะม่วง เป็นถ้ำที่มีน้ำไหลออกมาทั้งปี ถ้ำลึก 500 เมตร ระดับน้ำสูงตั้งแต่ 10-220 เซนติเมตร ภายในเป็นหินงอกหินย้อยสวยงามและมีรูปลักษณะต่างๆ ตามจินตนาการของแต่ละคน เมื่อแสงไฟต้องกับ เกล็ดทรายของหินงอกหินย้อยสะท้อนกลับมาสีสันแปลกตา บางบริเวณมีลักษณะ คล้ายม่านและยังมีน้ำไหลมองเห็นเป็นน้ำตกขนาดเล็กภายในถ้ำด้วย น้ำที่อยู่ในถ้ำจะไหลหมุนเวียนตลอดเวลา โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนน้ำจะเย็นมากกว่าฤดูหนาว อากาศสดชื่นมีการถ่ายเทตลอด
นักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปชมความงามของถ้ำน้ำแห่งนี้จะต้องเดินลุยน้ำเข้าไป และพอถึงจุดลึกก็ต้องลอยคอ หรือว่ายน้ำ ส่วนเรื่องความปลอดภัยไม่ต้อง เป็นห่วงเพราะที่นี่จะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด เวลาในการชมถ้ำนี้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่เหมาะกับผู้ที่ชื่น ชอบการผจญภัย และรักธรรมชาติ ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะเข้าชมถ้ำนี้ถ้ามาเป็นหมู่คณะไม่เกิน 10 คน ค่าใช้จ่ายประมาณ 1,000 บาท และ 11-20 คน ค่าใช้จ่ายประมาณ 2,000 บาท