วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

สามเหลี่ยมทองคำ. Golden Triangle

สามเหลี่ยมทองคำ. Golden Triangle
  สามเหลี่ยมทองคำ. Golden Triangle
           เป็นแนวตะเข็บชายแดนรอยต่อสามประเทศ.  คือ ไทย พม่า ลาว มีพื้นที่ประมาณ 1.5 แสนตารางเมตร.  ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน. มีชนกลุ่มน้อย. กองกำลังติดอาวุธอาศัยอยู่หลายกลุ่ม พื้นที่แถบนี้เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางว่าเป็นแหล่งปลูกฝิ่น. และผลิตยาเสพติดแหล่งใหญ่.  มีโรงงานผลิตเฮโรอีนกระจายอยู่ตามตะเข็บชายแดน. การลำเลียงฝิ่นใช้คาราวานล่อลัดเลาะไปตามไหล่เขา. มีกองกำลังคุ้มกัน. ราคาซื้อขายยาเสพติดว่ากันว่าแลกเปลี่ยนด้วยทองคำ. ในน้ำหนักที่เท่ากัน.  ยางข้นเหนียวของฝิ่นดิบ. จึงถูกเรียกว่าทองคำ. พื้นที่แถบนี้จึงถูกขนานนามว่า. "สามเหลี่ยมทองคำ"
           สามเหลี่ยมทองคำ. Golden Triangle หมายถึงพื้นที่รอยต่อระหว่างสามประเทศ. ได้แก่ ประเทศไทย. (จังหวัดเชียงราย) ลาว (แขวงบ่อแก้ว) และพม่า (แขวงท่าขี้เหล็ก, รัฐฉาน) มีลักษณะเป็นพื้นที่สามเหลี่ยมบรรจบกัน. โดยมีแม่น้ำโขงตัดผ่านชายแดนไทยและลาว. นับเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาค. นอกจากนี้สามเหลี่ยมทองคำยังมีทิวทัศน์ที่งดงาม. โดยเฉพาะยามเช้า. ที่ดวงอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางสายหมอก. เดิมสามเหลี่ยมทองคำเป็นที่รู้จัก. ในฐานะเป็นแหล่งท่องเที่ยวรอยต่อระหว่างประเทศ. แต่ในปัจจุบันมีความสำคัญในทางเศรษฐกิจมากขึ้น เนื่องจากเป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทย.
             สามเหลี่ยมทองคำในส่วนของประเทศไทย. อยู่ในเขตบ้านสบรวก. อำเภอเชียงแสน. จังหวัดเชียงราย. มีท่าเรือขนาดเล็กขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีน. และลาว. เมื่อมองจากฝั่งไทยไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ. จะเห็นหมู่บ้านในฝั่งลาวอย่างชัดเจน. ส่วนทางพม่าซึ่งอยู่ด้านตะวันตกนั้น. ไม่มีหมู่บ้านหรือสิ่งก่อสร้างให้เห็นในระยะใกล้ๆ.
               บริเวณดังกล่าวยังเป็นที่บรรจบกันของแม่น้ำโขง. และแม่น้ำรวก. ที่เรียกว่า. สบรวก บริเวณนี้มีเคยมีชนกลุ่มน้อย. และกองกำลังติดอาวุธอยู่หลายกลุ่ม. พื้นที่ในแถบนี้เคยเป็นแหล่งปลูกฝิ่น. และผลิตยาเสพติดแหล่งใหญ่. เช่น มีโรงงานผลิตเฮโรอีนและกระจายอยู่ตามชายแดน. ส่วนการลำเลียงฝิ่นจะไปเป็นขบวนลัดเลาะไปตามไหล่เขา. พร้อมกำลังคุ้มกัน. ว่ากันว่ายาเสพติดและฝิ่นจะถูกแลกเปลี่ยนด้วยทองคำในน้ำหนักที่เท่ากัน. จึงเป็นที่มาของชื่อ สามเหลี่ยมทองคำ.
              นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปยังสามเหลี่ยมทองคำในช่วงฤดูหนาว. และไปถ่ายรูปกับป้าย. "สามเหลี่ยมทองคำ" ที่ติดตั้งไว้ริมฝั่งแม่น้ำโขงด้วย. นอกจากนี้ยังนิยมนั่งเรือเที่ยวชมทิวทัศน์จุดบรรจบของพรมแดนไทย. ลาว และพม่า. ค่าเช่าเรือประมาณ 300 - 400 บาท. (นั่งได้ 6 คน) นอกจากนี้ยังสามารถล่องแม่น้ำโขงไปเที่ยวทางตอนใต้ของประเทศจีน. เช่น สิบสองปันนา คุนหมิง ได้อีกด้วย. แต่หากต้องการจะชมทิวทัศน์มุมกว้าง. ของสามเหลี่ยมทองคำบริเวณสบรวกและเพื่อนบ้าน. ต้องขึ้นไปบนดอยเชียงเมี่ยง.  ที่อยู่ริมแม่น้ำโขง.

การเดินทางไปสามเหลี่ยมทองคำ.

1. รถยนต์ส่วนตัว
ใช้ทางหลวงหมายเลข 10 เมื่อผ่าน. อำเภอแม่จัน. เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 1016 (แม่จัน-เชียงแสน.) ระยะทาง 29 กิ โลเมตร. ก่อนถึงกำแพงเมืองเก่าเชียงแสน. มีสี่แยกบายพาสเลี้ยวซ้าย. มีป้ายบอกทางไปสามเหลี่ยมทองคำ. หรือขับตรงไป. เมื่อผ่านอำเภอเชียงแสน. จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปตามถนนเลียบน้ำโขงอีก 12 กิโลเมตร.
2. รถโดยสารประจำทาง
จากเชียงรายนั่งรถบัสสีเขียวสายเชียงราย เชียงแสน จากสถานีขนส่งเชียงใหม่ จากนั้นต่อรถสองแถว สายเชียงราย- สบรวก ที่หน้าตลาดเชียงแสน

ข้อมูล จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ที่พักเชียงแสน

โรงแรมเชียงแสนริเวอร์ฮิลล์ สามเหลี่ยมทองคำ

www.chiangsaenriverhillhotel.com

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร

วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
              หลังจากที่ผมและครอบครัว. ได้เดินเที่ยวชมสวนพฤกษศาสตร์ภาคกลาง.  (พุแค)  ประมาณ 1 ชั่วโมงเศษๆ. ก็ได้เวลาออกเดินทางต่อ. เป้าหมายอยู่ที่อำเภอบ้านหมี่  ลพบุรี. ในระหว่างทาง. ได้ผ่านสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง.  แต่ผมได้แวะนมัสการรอยพระพุทธบาท. ที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร. ซึ่งผมเคยมาเมื่อครั้งยังเรียนอยู่ประมาณ 30 กว่าปีที่แล้ว. เมื่อเดินผ่านประตูวิหารเข้าไป. ด้านซ้ายมือจะเป็นสถานที่สำหรับถวายสังฆทาน. ครอบครัวของผมถวายเป็นกลุ่มแรกเลย. เพราะมาก่อนไก่โห่.  ลองดูประวัติวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร. กันนะครับ.
วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
           วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ตามพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า มีพระภิกษุไทยคณะหนึ่ง เดินทางไปยังลังกาทวีป เพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาท พระสงฆ์ลังกากล่าวว่า ประเทศไทยก็มีรอยพระพุทธบาทอยู่แล้วที่เขาสุวรรณบรรพต จึงได้นำความกราบทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมให้ทรงทราบ และได้สืบหาจนพบรอยพระพุทธบาท เพื่อเป็นที่สักการะบูชา เป็นศูนย์รวมแห่งพลังศรัทธาอันยิ่งใหญ่ พระพุทธบาทสระบุรีเป็นพระอารามหลวง ที่พระมหากษัตริย์แทบทุกพระองค์ทรงทำนุบำรุงและเสด็จไปนมัสการตลอดมา ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์
ประวัติวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
             ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม แผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ปรากฏว่า มีพระภิกษุสงฆ์ชาวไทยคณะหนึ่ง เดินทางไปยังลังกาทวีป ด้วยหวังจะสักการบูชาพระพุทธบาท ณ เขาสุมนกูฏ การไปคราวนั้นเป็นเวลาที่พระสงฆ์ชาวลังกาทวีปกำลังสอบประวัติ และที่ตั้งแห่งรอยพระพุทธบาททั้งปวงตามที่ปรากฏอยู่ในตำนานว่ามีเพียง ๕ แห่ง ภายหลังสืบ ได้ความว่าภูเขาที่ชื่อว่า สุวรรณบรรพตมีอยู่ในสยามประเทศ ครั้นเมื่อได้พบกับพระภิกษุสงฆ์ชาวไทยในคราวนั้น ต่างพากันสอบถามว่ารอยพระพุทธบาท ที่มีอยู่ ๕ แห่ง


         ในสถานที่ต่างๆ กันนั้น ปรากฏว่ามีที่เขาสุวรรณบรรพตแห่ง ๑ ก็ภูเขาลูกนี้อยู่ในประเทศไทย แต่ไม่พยายามสืบไปนมัสการ กลับพากันไปลังกาทวีป เมื่อพระภิกษุสงฆ์ไทยคณะนั้นได้รับคำบอกเล่า เมื่อกลับมาสู่ประเทศไทย จึงนำความขึ้นถวายสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีท้องตราสั่งบรรดาหัวเมืองทั้งปวง ให้เที่ยวตรวจตราค้นดูตามภูเขาต่างๆ ว่าจะมีรอยพระพุทธบาทอยู่ ณ ที่แห่งใด ครั้งนั้น เจ้าเมืองสระบุรี สืบได้ความจากนายพรานบุญว่า ครั้งหนึ่งออกไปล่าเนื้อในป่าใกล้เชิงเขา ยิงถูกเนื้อตัวหนึ่งเจ็บลำบากหนีขึ้นไปบนไหล่เขา ซุกเข้าเชิงไม้หายไป พอบัดเดี๋ยวก็เห็นเนื้อตัวนั้น วิ่งออกจากเชิงไม้เป็นปกติอย่างเก่า นายพรานบุญนึกประหลาดใจ จึงตามขึ้นไปดูสถานที่บนไหล่เขาที่เนื้อหนีขึ้นไป ก็พบรอยปรากฏอยู่ในศิลา มีลักษณะเหมือนรูป รอยเท้าคน ขนาดยาวประมาณสักศอกเศษ และ ในรอยนั้นมีน้ำขังอยู่ด้วย นายพรานบุญเข้าใจ ว่าบาดแผลของเนื้อตัวที่ถูกตนยิง คงหายเพราะดื่มน้ำในรอยนั้น จึงวักน้ำลองเอามาทาตัวดู บรรดาโรคผิวหนังคือ กลากเกลื้อน ซึ่งเป็นเรื้อรังมาช้านานแล้ว ก็หายหมดสิ้นไป เจ้าเมืองสระบุรี จึงสอบสวนความจริงดู ก็ตรวจค้นพบรอยนั้น สมดังคำบอกเล่าของนายพรานบุญ จึงมีใบบอกแจ้งเรื่องเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จึงเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไป ณ ที่เขานั้น ทอดพระเนตรเห็นรอยนั้นแล้ว จึงทรงพระราชวิจารณ์ตระหนักแน่นพระราชหฤทัยว่าคงเป็นรอยพระพุทธบาท เพราะมีลายลักษณ์กงจักร ประกอบด้วยอัฏฐุตตรสตมหามงคลร้อยแปดประการ ตรงกับเรื่องทีชาวลังกาทวีปแจ้งเข้ามาด้วย เกิดพระราชศรัทธาปราโมทย์โสมนัสเป็นกำลัง โดยทรงพระราชดำริเห็นว่ารอยพระพุทธบาทย่อมจัดเป็นบริโภคเจดีย์แท้ เพราะเป็นพุทธบทวลัญช์อันเนื่องมาแต่พระพุทธองค์ ย่อมประเสริฐยิ่งกว่าอุเทสิกเจดีย์ เช่น พระสถูปเจดีย์ สมควรจะยกย่องบูชาเป็นพระมหาเจดียสถาน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างก่อเป็นคฤหหลังน้อย สวมรอยพระพุทธบาทไว้เป็นการชั่วคราวก่อนแล้ว ครั้นเสด็จพระราชดำเนินกลับมายังราชธานี จึงทรงสถาปนายกที่พระพุทธบาทขึ้นเป็นเจดียสถานเป็นการสำคัญ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมณฑปยอดเดี่ยวสวมรอยพระพุทธบาทกำหนดเป็นพุทธเจดีย์ และสร้างอารามวัตถุอื่นๆ เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร ให้เป็นที่สำหรับพระภิกษุอยู่แรม เพื่อทำการบริบาลพระพุทธบาท ทรงพระราชศรัทธาอุทิศเนื้อที่โยชน์หนึ่ง โดยรอบรอยพระพุทธบาทถวายเป็นพุทธเกษตรต่างพุทธบูชา บรรดากัลปนาผล ซึ่งได้เป็นส่วนของหลวงจากเนื้อที่นั้นให้ใช้จ่ายเป็นค่าบำรุงรักษาพระมหาเจดียสถานที่พระพุทธบาท ทรงยกที่พุทธเกษตรส่วนนี้ให้เป็นเมืองชั้นจัตวา ชื่อเมืองปรันตปะ แต่นามสามัญเรียกกันว่า เมืองพระพุทธบาท ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าฯ 
         ให้ชายฉกรรจ์ทุกคนที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในเขตที่พระพุทธบาทพ้นจากหน้าที่ราชการอย่างอื่นสิ้น ตั้งให้เป็นพวกขุนโขลนเป็นข้าปฏิบัติบูชารักษาพระพุทธบาทแต่หน้าที่เดียว พระราชทานราชทินนามบรรดาศักดิ์ประจำตำแหน่งผู้รักษาการพระพุทธบาท หัวหน้าเป็นที่ขุนสัจจพันธ์คีรีรัตนไพรวัน เจติยาสันคามวาสี นพคูหาพนมโขลน รองลงมาเป็นที่หมื่นสุวรรณปราสาท หมื่นแผ้วอากาศ หมื่นชินธาตุ หมื่นศรีสัปบุรุษ ทั้ง ๔ คนนี้ เป็นผู้รักษาเฉพาะองค์พระมณฑป ตั้งนายทวารบาล ๔ นาย เป็นที่หมื่นราชบำนาญทมุนิน หมื่นอินทรรักษา หมื่นบูชาเจดีย์ หมื่นศรีพุทธบาล โปรดเกล้าฯ ให้สร้างคลังสำหรับเก็บวัตถุสิ่งของที่มีผู้นำมาถวายเป็นพุทธบูชา ให้ผู้รักษาคลังเป็นที่ขุนอินทรพิทักษ์ ขุนพรหมรักษา หมื่นพิทักษ์สมบัติ หมื่นพิทักษ์รักษา ให้มีผู้ประโคมยามประจำทั้งกลางวันกลางคืนเป็นพุทธบูชา ตั้งเป็นที่หมื่นสนั่นไพเราะ หมื่นเสนาะเวหา พันเสนาะ รองเสนาะ ทรงกำหนดเทศกาลสำหรับให้มหาชนขึ้นไปบูชารอยพระพุทธบาทเดือน ๓ ครั้ง ๑ และเดือน ๔ ครั้ง ๑ เป็นประเพณีตั้งแต่นั้นมา.

            หลังจากกราบนมัสการพระพุทธบาทแล้ว. มาเดินเล่นชมวิวพักผ่อนภายใต้ร่มไม้. ที่บริเวณด้านหน้าวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร. จะเป็นสวนพฤกษศาสตร์. มีต้นไม้ใหญ่ที่ให้ความร่มรื่นเย็นสบาย. และร้านค้าที่จำหน่ายอาหาร. สินค้า OTOP  จากชาวบ้าน. รวมทั้งของฝากต่างๆมากมาย. ให้เลือกซื้อกลับบ้าน.


การเดินทาง
จากกรุงเทพมหานคร เดินทางโดยใช้ถนนพหลโยธิน เมื่อถึงช่วงกิโลเมตรที่ 136 มีทางเลี้ยวซ้าย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3020) แล้วให้ตรงไปเพื่อเข้าวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
ที่พักพระพุทธบาทสระบุรี

ศูภาลัย ป่าสัก รีสอร์ท แอนด์ สปา Supalai Pasak Resort and Spa
79 หมู่ 1 ถ.อดิเรกสาร อำเภอแก่งคอย, สระบุรี, สระบุรี, ไทย

วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555

สวนพฤกษศาสตร์ภาคกลาง (พุแค) Central Botanical Garden (Pukae)

      
หลานๆ ของผมเองน้องใบโพธิ์ ถัดมาน้องใบไทร
              ในช่วง นิวเยียร์ เคาท์ดาวน์ (New Year Countdown 2012)  ผมได้มีธุระไปเยี่ยมญาติที่จังหวัดขอนแก่น  และจังหวัดมหาสารคาม  โดยออกเดินทางวันที่ 29 ธันวาคม 2554  เวลาประมาณ 20:00 น. ใช้เส้นทางถนนสายเอเชีย  ไปออกสระบุรีเลี้ยวขวาเพื่อไปนครราชสีมา  การเดินทางค่อนข้างลำบากเพราะรถติดมากๆ ตอนแรกตั้งใจจะออกทางจอหอโคราช ต้องเปลี่ยนเส้นทางกะทันหัน  เพราะเวลาตีสองแล้วผมยังไม่ถึงแยกสีคิ้วเลย  พอถึงแยกสีคิ้วผมตัดสินใจกระทันหันใช้เส้นทางชัยภูมิแทน เพื่อหนีรถติด ไปออกภูเวียงและถึงขอนแก่น 06: 00 น. ของวันที่ 30 ธันวาคม  หลังจากเสร็จธุระที่ขอนแก่น ก็เที่ยงวันได้เวลาขับรถเข้าสู่จังหวัดมหาสารคามไปส่งลูกน้องในแผนกที่ติดรถไปด้วย เลยนอนพักเอาแรงที่บ้านลูกน้องสักเงียบ  พอตื่นขึ้นมาตอนห้าโมงเย็น ก็ต้องรีบเดินทางกลับเพราะต้องไปบ้านลูกสะใภ้ที่บ้านหมี่ลพบุรี โดยตอนแรกผมมีความตั้งใจว่าหลังจากเสร็จธุระแล้วจะตระเวนเที่ยวแถวภาคอีสานให้หนำใจ  แต่กลับไม่ได้เที่ยว ขากลับผมใช้เส้นทางถนนมิตรภาพผ่านบ้านไผ่ เข้าโคราช  โดยตั้งใจแวะที่วัดโนนกุ่ม (วัดที่คุณสรพงษ์สร้าง) พอมาถึงวัดโนนกุ่มเวลาประมาณสี่ทุ่ม ได้ขับรถแวะเข้าไปปรากฏว่าปิด  ไม่มีใครเลยเงียบเหงา แสดงว่าเปิดเฉพาะตอนกลางวัน ผมเลยขับรถเข้าสระบุรี ไปจอดรถนอนที่จุดพักรถมวกเหล็ก  อากาศที่มวกเหล็กตอนกลางคืนจัดว่าหนาวเย็นมาก ผมและครอบครัวนอนในรถครับหลับสบาย  พอตื่นขึ้นมาตีสี่ ผมล้างหน้าแปรงฟันเสร็จ ก็ออกรถทันทีโดยให้สมาชิกครอบครัวหลับต่อไป  และไปเช้าที่ สวนพฤกษศาสตร์ภาคกลาง (พุแค)จังหวัดสระบุรี เริ่มต้นของการท่องเที่ยวที่สวนพฤกษศาสตร์ภาคกลาง (พุแค) ก่อนไปลพบุรี

ลูกสาวผมกับหลานๆ
               สวนพฤกษศาสตร์ภาคกลาง (พุแค) Central  Botanical Garden (Pukae)  ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าพระพุทธบาท - พุแค มีพื้นที่ ๓,๗๕๐ ไร่ เป็นสวนที่มีความสมบูรณ์มาก ในสวนรวบรวมพรรณไม้ไว้หลากหลายชนิด แบ่งแปลงปลูกไว้เป็นหมวด หมู่ ตามวงศ์ต่าง ๆ เส้นทางจากกรุงเทพ ฯ ไปตามถนนพหลโยธิน ผ่านสระบุรีที่ กม.๑๐๘ เลยไปอีก ๑๕ กม. จะมีถนนแยกขวา ไปเพชรบูรณ์ แยกซ้ายไปลพบุรี ถนนจะผ่ากลางพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์ ทางซ้ายเป็นที่ทำการและตกแต่งงามด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ สระน้ำสวยมาก มีพรรณไม้หลากหลายชนิด ทั้งไม้เดิมในธรรมชาติ และพรรณไม้ที่เก็บรวบรวมมาปลูกเพิ่ม ทางฝั่งขวาของถนน เป็นสวนป่าไม้ใหญ่ทั้งสิ้น และริมถนนจะเป็นธารน้ำไหล เหมือนเป็นน้ำตกน้อย ๆ เป็นที่พึ่งของชาวสิบล้อ ที่จะมาอาบน้ำ พักผ่อนกันบริเวณนี้ รถเข้าไปในสวนป่าทางด้านขวานี้ได้ นักเดินทางไม่มีเวลาแวะชม หากจำเป็นก็มีสุขาให้เป็นที่พึ่งได้ สวน ฯ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลพุแค อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ความริเริ่มในการสร้างสวนพฤกษศาสตร์ ครั้งแรกนั้นคิดที่จะสร้างที่อำเภอพระพุทธบาท ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๔ แต่พื้นที่ที่เลือกได้ขาดแหล่งน้ำ และดินไม่ดี จึงเลือกใหม่ได้ที่ป่าพุแค ชายดงพระยาเย็น พอปี พ.ศ.๒๔๙๒ ก็ได้รับการจัดสรรงบประมาณ มาดำเนินการเป็นปีแรก และมาทำพิธีเปิดในปี พ.ศ.๒๔๙๓ สวน ฯ แห่งนี้ไม่มีที่พัก ไม่มีสถานที่ให้กางเต็นท์ แต่มีอาหารขายพอแก้หิว หากจะพักก็พอมีโรงแรมอยู่หัวถนน ที่จะไปเพชรบูรณ์ และมีที่เพาะพันธุ์ไม้สำหรับแจกให้เอาไปปลูก 

           จังหวัดสระบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย นับเป็นเสมือนด่านผ่านระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และพรั่งพร้อมด้วยแหล่งท่องเที่ยวมากมาย

         จังหวัดสระบุรีมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ได้แก่ ตอนเหนือติดกับจังหวัดลพบุรี ทางตะวันออกติดกับนครราชสีมา ทางใต้ติดกับนครนายก ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา ส่วนทางตะวันตกติดกับพระนครศรีอยุธยาและลพบุรี
สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดสระบุรี 
    นับว่าเป็นทำเลแห่งการเพาะปลูก ได้รับความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำสายหลัก คือแม่น้ำป่าสัก และสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม
ประวัติศาสตร์
        สระบุรีเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งแต่โบราณ สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2092 ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ การตั้งเมืองนี้สันนิษฐานว่า พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้แบ่งเขตพื้นที่บางส่วนของเมืองลพบุรีกับเมืองนครนายกมารวมกันตั้งขึ้นเป็นเมืองสระบุรี ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เป็นศูนย์ระดมพลเมืองในยามศึกสงคราม เพราะฉะนั้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา จึงมักพบเรื่องราวของจังหวัดสระบุรีเกี่ยวกับการศึกสงครามอยู่เสมอ สำหรับที่มาของคำว่า สระบุรีสันนิษฐานว่า เพราะเหตุที่ทำเลที่ตั้งครั้งแรกมีบึงอยู่ใกล้ คือ บึงหนองโง้งเมื่อตั้งเมืองขึ้นจึงได้นำเอาคำว่า สระมารวมเข้ากันกับคำว่า บุรีเป็นชื่อเมือง สระบุรี
         สภาพโดยทั่วไปมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และยังได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชันและพายุไต้ฝุ่นอีกด้วย โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนมีอุณหภูมิเฉลี่ย 28.3 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละประมาณ 1147.6 มิลลิเมตร มีฤดูต่าง ๆ 3 ฤดูคือ
ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแล้ง
ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม อากาศจะชุ่มชื้นในเดือนกันยายน
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวเย็นสลับกับอากาศร้อน

            สวนพฤกษศาสตร์ภาคกลาง(พุแค)คือ สวนที่จัดสร้างขึ้นเพื่อการอนุรักษ์ และศึกษาค้นคว้าทางด้านพฤกษศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพืช โดยทั่วไปมักจำแนกตามวงศ์สกุลและชนิดของพันธุ์ไม้  รวบรวมตัวอย่างพืชทุกชนิดที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและต่างประเทศไว้เป็นหมวดหมู่  ตลอดจนใช้เป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ หากใครมีเวลา สามารถต้องการสูดอากาศแบบบริสุทธิ์ นั่งชมธรรมชาติใต้ร่มไม้  ผมขอแนะนำสวนพฤกษศาสตร์ภาคกลาง(พุแค) เพราะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก  
-->