ชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ผามออีแดง
ภาคสอง
ทางที่ลงไปชมภาพแกะสลักนูนต่ำโครงสร้างเป็นเหล็กแข็งแรงกว้างประมาณ
1 เมตร เดินสวนกันได้สบาย ราวสะพานสูงประมาณหน้าอกของชายไทยอย่างผู้เขียน
( 171 ซ.ม.) ก่อนถึงบริเวณด้านหน้าของภาพแกะสลักจะมีประตูเหล็กกั้นไว้ ได้สอบถามกับเจ้าหน้าที่อุทยานฯได้ความว่า เป็นการป้องกันนักเสี่ยงโชคทั้งหลายไปขูดดูหวยจนภาพแกะสลักสึกหรอ จำเป็นต้องกั้นเอาไว้ เป็นเหตุผลที่น่ารับฟังดี แต่ก็มีช่องที่กว้างพอที่จะแหย่เลนของเจ้า NIKON
5100 เข้าไปถ่ายภาพมาให้ชมกันได้
ถัดจากทางลงชมภาพแกะสลักนูนต่ำไปอีกประมาณ
50 เมตร ก็จะถึงจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นเขาพระวิหารที่อยู่ห่างออกไปประมาณ
1 กิโลเมตร
สามารถมองเห็นบริเวณกว้างของเขาพระวิหารด้วยตาเปล่า
หากใช้กล้องส่องทางไกลจะเห็นตัวปราสาทเขาพระวิหารได้ดีขึ้น
(ที่บริเวณจุดส่องกล้อง มีกล้องส่องทางไกลไว้บริการ)
ภาพนี้ผมซูมด้วยเลนส์ Nikon AF-S DX VR 18-105 f/3.5-5.6G ED ได้สุดๆ แค่นี้เอง
สถูปคู่ ตั้งคู่อยู่บริเวณทิศตะวันตกของผามออีแดง เป็นที่น่าเสียที่ไม่สามารถเข้าไปเที่ยวชมได้อย่างไกล้ชิดได้แต่ใช้กล้องถ่ายภาพแบบซูมไกลเข้ามาให้ได้ชมกัน
เส้นทางที่จะไปเขาพระวิหารจะต้องผ่านสถูปคู่ แห่งนี้ก่อน สถูปคู่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ขนาดหน้ากว้าง
1.93เมตร สูง 4.20เมตร ยอดมนคล้ายตะปูหัวเห็ด
ข้างในเป็นโพรงบรรจุสิ่งของ ก่อสร้างด้วยหินทรายเป็นท่อนที่ตัดและตกแต่ง เป็นโบราณศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่ายิ่ง
การเดินทาง
1. จากกรุงเทพฯ
ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) สระบุรีเลี้ยวขวา เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข
2 (มิตรภาพ) ผ่านนครราชสีมา ไปตามทางหลวงหมายเลข 24 ผ่านหนองกี่ นางรอง ประโคนชัย อำเภอสังขะและอำเภอขุขันธ์
ถึงสี่แยกตัดกับทางหลวงหมายเลข 221 เลี้ยวขวาเข้าสู่อำเภอกันทรลักษ์
แล้วต่อไปยังที่ทำการอุทยานฯ
2. จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนสายบางนา-ตราด ผ่านฉะเชิงเทรา
ใช้ถนนหมายเลข 304 ผ่านสี่แยกกบินท์บุรี ขึ้นเขาปักฯ
เข้าถนนหมายเลข24 ผ่านหนองกี่ นางรอง ประโคนชัย
อำเภอสังขะและอำเภอขุขันธ์ ถึงสี่แยกตัดกับทางหลวงหมายเลข 221 เลี้ยวขวาเข้าสู่อำเภอกันทรลักษ์ แล้วต่อไปยังที่ทำการอุทยานฯ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับที่พักและสถานที่กางเต็นท์ได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร 0-4561-9214 , 0-1222-0798 หรือ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร.0-2579-7223,
0-2562-0760