วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วัดบางพลีใหญ่กลาง(วัดพระนอนใหญ่)

วัดบางพลีใหญ่กลาง(วัดพรระนอนใหญ่)


ที่มาของ ประวัติความเป็นมา จากบทสัมภาษณ์พระครูพิศาลวุฒิกิจ ในแผ่นพับของวัดบางพลีใหญ่กลาง

               วัดบางพลีใหญ่กลาง สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2367 ชาวบ้าน  เรียกว่า "วัดกลาง" เพราะตั้งอยู่ท่ามกลางระหว่างวัดบางพลีใหญ่ในกับวัดคงคาราม (ร้างไปแล้ว) วัดบางพลีใหญ่กลางนี้เดิมเรียกว่า "วัดน้อยปทุมคงคา" สันนิษฐานว่ามีพระผู้ใหญ่จากวัดปทุมคงคาในกรุงเทพฯ มาตั้งสำนักสงฆ์ไว้ บ้างก็สันนิษฐานว่าอยู่ในพื้นที่มีน้ำ (คลองสำโรง)ท่วมถึง มีดอกบัวในท้องถิ่นมาก ต่อมาเปลี่ยนวัดใหม่ว่า"วัดราษฏร์ศรัทธาธรรม" และในที่สุดเปลี่ยนเป็น"วัดบางพลีใหญ่กลาง"ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478
ถาม:
                ขอให้ท่านเจ้าอาวาสเล่าถึงประวัติของวัด  และอดีตเจ้าอาวาสโดยสังเขป
พระคุณเจ้า:
     มีเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งหมด 9 รูปได้แก่    
                  รูปที่ 1 พระอธิการพ่วง พระอาจารย์ชำ
                  รูปที่ 2 พระปลัดกรุด
                  รูปที่ 3 พระอธิการเพ็ง
                  รูปที่ 4 พระอาจารย์ชำ
                  รูปที่ 5 พระอธิการเสม
                  รูปที่ 6 พระอรรถโถวิทวุฒิคุณ(หลวงปู่กิ่ม)
                  รูปที่ 7 พระครูโสภณธรรมาภรณ์
                  รูปที่ 8 พระครูปลัดไพศาล
            รูปที่ 9 พระครูพิศาลวุฒิกิจ(พระอุปัชฌาย์)
                นับตั้งแต่ พ.ศ. 2367 ถึงปัจจุบัน เวลาล่วงเลยมาแล้ว 185 ปี วัดได้เจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ เป็นที่รักจักแพร่หลายของคนทั่วไป  แต่ในเขตอำเภอบางพลีของเรามีวัดมากมายและตั้งอยู่ไม่ไกลกัน  เอกลักษณ์ของวัดบางพลีใหญ่กลางคือ พระนอนใหญ่  คนใกล้ไกลอาจไม่แน่ใจว่า  วัดไหนคือวัดบางพลีใหญ่กลาง  แต่ถ้าบอกว่าวัดพระนอนใหญ่ก็เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วๆไป
ถาม:     
       ประชาชนทั่วไปเคยชมข่าวสารทางโทรทัศน์  โดยเฉพาะคนที่อยู่ไกลหรือชาวต่างประเทศ  มักถามเสมอว่าเมื่อครั้งก่อนผ่านมาเห็นพระพุทธสีห์ไสย์สน์อันสวยงามสง่าอยู่กลางแจ้ง  ครั้นกลับมาอีกครั้งไม่เห็นพระนอนใหญ่  ใคร่ขอให้พระคุณเจ้าได้เล่าความเป็นมาโดยย่อ  ด้วยทั้งทราบข่าวคราวว่าพระคุณเจ้าเป็นผู้ดำริในการจัดสร้าง  ไม่ทราบว่ามีแรงจูงใจหรือมีวัตถุประสงค์หลักสำคัญอย่างไร?
 พระคุณเจ้า:
หากให้อาตมาเล่าคงต้องใช้เวลามากพอสมควร  หากจะต้องการทราบโดยละเอียด  ขอให้คุณโยมหาโอกาสไปนมัสการและเดินทางไปเที่ยวชมดัวยตนเองบ้างเมื่อมีโอกาส  สำหรับแรงจูใจโดยย่อก็ไม่มีอะไรมาก  จากการไปจารึกแสวงบุญเทศนาอบรมพุทธศาสนิกชนในที่ต่างๆ  ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ได้พบได้เห็นสิ่งต่างๆ อันเป็นอัศจรรย์ของโลก  ได้เห็นศรัทธาแห่งมหาชนล้วนแต่ได้ทำให้เกิดสิ่งอัศจรรย์ต่างๆขึ้น  ประกอบกับตำบลบางพลีใหญ่ของเราในอดีตยังไม่มีพุทธสถานขนาดใหญ่ที่จะเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาของชาวชุมชน  ทั้งให้สามารถเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม  ได้เป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวบางพลี  พุทธสถานหลายอย่างมีคนทำมากแล้ว  พระสีหาไสยาสน์ไม่ค่อยมีใครสร้าง  ที่สร้างไว้แต่อดีต เช่นพระนอนวัดโพธิ์ กรุงเทพฯ พระนอนจักรสีห์ จังหวัดสิงห์บุรี  ด้วยเหตุนี้พออาตมา มาบวชได้ 21 พรรษา  จึงได้ตัดสินใจสร้างพระนอนใหญ่ขึ้นดังที่ปรากฏ
ส่วนคำถามที่ประชาชนไกลๆ และชาวต่างประเทศมักถามเสมอว่าพระนอนใหญ่หายไปไหน  มาครั้งหลังไม่เห็นพระนอนใหญ่อันสวยสง่างาม  และเป็นพระนอนใหญ่ที่สุดในประเทศไทยนั้น  เมื่อพระนอนใหญ่สร้างเสร็จเรียบร้อย  ดูตระหง่านเป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวบางพลีและของวัด  เป็นศูนย์รวมศรัทธามหาชน อันเป็นที่ล่ำลือไปทั่ว ทำให้มีนักท่องเที่ยว ผู้แสวงบุญ หลั่งไหลเข้ามาชมวัดบางพลีใหญ่กลาง อันเป็นแหล่งที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสมุทรปราการ  อาตมาพร้อมด้วยพระคุณเจ้าในวัด และอุบาสก อุบาสิกาเห็นว่าพระนอนใหญ่ นอนตากแดด ตากลม ตากฝน อาจทำให้พระนอนชำรุดทรุมโทรม  ดังนั้นใน พ.ศ. 2529  จึงเริ่มก่อสร้างมหาวิหารครอบองค์พระนอนใหญ่  ซึ่งทั้งพระนอนใหญ่และมหาวิหารใช้งบประมาณกว่า 69 ล้านบาท  ซึ่งทั้งภายในองค์พระนอน และมหาวิหารได้ใช้ประโยชน์  เป็นสถานที่ปฏิบัติกัมมัฏฐานและประโยชน์อื่นๆ เป็นอเนกประการ
ด้านหน้ามหาวิหาร
ปิดทองหัวใจพระศากยมุณีศรีสุเมธบพิตร
ถาม:
ทราบว่าที่ชั้น 4 ขององค์พระนอนใหญ่ เป็นที่บรรจุหัวใจพระนอนใหญ่ปิดทองเหลืองอร่าม  ขอพระคุณเจ้าได้ช่วยอธิบาย ความหมายของการปิกทองหัวใจพระนอน ซึ่งอาจมีแห่งเดียวในประเทศไทย
พระคุณเจ้า:
                การปิดทองหัวใจพระ เป็นนัยการบอกให้ผู้กระทำทราบว่าเข้าถึงหัวใจหรือเข้าถึงแก่นแท้แห่งพระพุทธศาสนา คือการเข้าถึงความสุขอันแท้จริง  ก่อนที่เราจะทำการปิดทองหัวใจพระ  ควรตั้งจิตอธิษฐาน      ขอบารมีหลวงพ่อพระนอนใหญ่ปกปักรักษาให้หัวใจของเราปราศจากโรคาพยาธิต่างๆ  นอกจากนี้ที่พระเกศของพระนอนใหญ่ ยังบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้อีกด้วย  เมื่อได้มีโอกาสเข้าไปนมัสการปิดทองหัวใจพระดังกล่าวแล้ว จะได้พบเห็นอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายทั่วไป เช่นเดียวกันกับอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายของตัวเรา จะเกิดการปลงอนิจจัง
ปิดทองหัวใจพระศากยมุณีศรีสุเมธบพิตร
พระนอนใหญ่
               สมเด็จพระศากยมุณีศรีสุเมธบพิตร วัดบางพลีใหญ่กลาง อ.บางพลี จ. สมุทรปราการ เป็นพระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ยาว 26 วา 1 ศอก 9 นิ้ว กว้าง 3 วา 1 ศอก สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2521 เสร็จเมื่อปี พ.ศ.2544 โดยพระครูพิสศาลวุฒิกิจ เจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่กลางรูปปัจจุบัน แรงบันดาลใจในการสร้างพระนอนท่านเล่าว่า จากประสบการณ์ที่อยู่ในสมณะเพศได้เดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ จึงเกิดความคิดที่จะทำอะไรสักอย่างหนึ่งเพื่อเป็นการสร้างกุศล และให้ประชาชนมาทำบุญที่วัดมากๆเหมือนกับวัดอื่นๆ ที่เคยพบเห็น พระนอนดังกล่าวนี้ ภายในมีห้องปฏิบัติกรรมฐาน มีภาพเขียนเป็นเรื่องราวเทวดานรก และเรือสำเภาหน้าวัดด้านริมคลองสำโรงและมีอวัยวะภายใน โดยเฉพาะหัวใจจะบรรจุด้วยเพชรนิล จินดา น้ำพันจันทร์ และทองคำ สื่อความหมายถึงความแข็งแกร่งและศักดิ์สิทธิ์ เพื่อประชาชนมาปิดทองที่หัวใจพระนอนเปรียบเสมือนปิดทองหัวใจพระพุทธเจ้า
สิ่งที่น่าสนใจศึกษาและเรียนรู้  
  วัดบางพลีใหญ่กลาง  ชาวบางพลี  เรียกว่า  วัดกลาง  หรือ  วัดพระนอน ตามลักษณะพระพุทธรูป  ซึ่งเข้าไปภายในโบสถ์จะเห็นพระนอนองค์ขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่  ซึ่งความยาวขององค์พระนอน ตั้งแต่ปลายเกศถึงพระบาท ยาว 52  เมตร  50  เซนติเมตร  กว้าง  7  เมตร  นับว่าเป็นพระพุทธรูปปางไสยยาสน์องค์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน  นอกจากภายในโบสถ์จะมีพระนอนที่ใหญ่แล้ว ยังมีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ให้ประชาชนเข้ามากราบไหว้ และมีสิ่งหนึ่งที่ประชาชนให้ความสนใจคือ  ช้างเสี่ยงทาย  มีความเชื่อกันว่าถ้าใครมาอธิฐาน  และหากว่าคำอธิฐานที่ตนอธิฐานเป็นจริงก็จะยกช้างขึ้น  ตรงกันข้าม หากคำอธิฐานไม่เป็นจริงก็จะยกช้างไม่ขึ้น  ภายในองค์พระนอนจะมีห้องต่าง ๆ โดยทางเดินปูพื้นด้วยหินขาว  บันไดทางขึ้นปูด้วยหินอ่อน  ขึ้นไปชั้นที่  2 เป็นที่ฝึกกรรมฐานของพระ  ชั้นที่  3  มีภาพเขียนที่เขียนแสดงเรื่องราวพุทธประวัติ  และเรื่องราวที่เขียนเกี่ยวกับการทำความดี  ว่าทำความดีแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์เป็นนางฟ้า  เทวดา  และเขียนเกี่ยวกับการทำความชั่วว่า  ถ้าทำความชั่วก็จะตกนรกตายไปจะเป็นเปรต  เป็นต้น ซึ่งภาพเหล่านี้เขียนโดยอาจารย์  วัจฉละ สาเงิน  ครูศิลปะจากโรงเรียนสตรีสมุทรปราการ  ส่วนชั้นที่  4  เป็นชั้นที่ทุกคนเมื่อได้มาแล้วต้องขึ้นไป  เพราะในชั้นนี้เป็นชั้นที่บรรจุหัวใจพระนอน  ปิดทองเหลืองอร่าม  ซึ่งสาธุชนถือว่าการที่ได้กราบไหว้ และปิดทองที่หัวใจพระนอนก่อให้เกิดบุญกุศล













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น